
เกี่ยวกับวัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่
4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลาง
แจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการ
และโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. 2430
ระหว่างการลงรากพระวิหารทํา ให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรด
เกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัด
กัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร
แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็น
เรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง 1 เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็น
มุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4
หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์
นาน 8 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง

เจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร
เจ้าอาวาสวัดไชโย
พระครูวิบูลย์สังฆกิจ
ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวสวัดไชโย
ชื่อ พระครูวิบูลย์สังฆกิจ ฉายา ปุญญเมธี นามสกุล ก้านอินทร์
อายุ ๔๒ พรรษา ๒๒ วิทยะฐานะ นธ.เอก, ป.ธ.๓ม พธ.บ. , ศษ.ม.
วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวสวัดไชโยวรวิหาร พระอารามหลวง และเจ้าคณะตำบลไชโย